FCL และ LCL ต่างกันอย่างไร

นำเข้า ส่งออก ชิปปิ้ง LCL FCL เต็มตู้ ไม่เต็มตู้

FCL และ LCL สำหรับท่านที่พึ่งเริ่มทำนำเข้าส่งออก อาจจะไม่คุ้นชินและไม่เข้าใจว่า 2 คำนี้ คืออะไร ต่างกันอย่างไรและมีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง

ต่างกันอย่างไร

FCL (Full Container Load) คือ การขนส่งสินค้าแบบเต็มตู้คอนเทนเนอร์ สินค้าในตู้เป็นของผู้จองตู้แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งจะบรรจุสินค้าไปเท่าใดก็ได้ให้ไม่เกิน ข้อจำกัดของตู้

LCL (Less than Container Load) คือ การบรรจุสินค้าโดยที่มีผู้ส่งออกหลายเจ้าส่งออกไปในคอนเทนเนอร์เดียวกัน

ข้อดี ข้อเสียอะไรบ้าง

ข้อดี FCL

  • มีความรวดเร็วกว่า คือเมื่อเรือเข้าท่ายกตู้ลงเรียบร้อย ท่านสามารถทำพิธีการศุลกากร ปล่อยสินค้าที่นำเข้าออกจากท่าได้ทันที
  • ลดความเสี่ยง สินค้าของท่านมีโอกาสเสียหายน้อยกว่า LCL เพราะในตู้มีสินค้าของท่านคนเดียวและไม่ต้องย้ายสินค้าเข้า-ออกจากตู้หลายครั้ง
  • บริหารจัดการได้ง่ายกว่า เพราะท่านสามารถลากตู้คอนเทนเนอร์ไปยังสถานที่ที่ท่านมีความพร้อมในการลงสินค้า ทั้งในเรื่องแรงงานและอุปกรณ์
  • ต้นทุนเฉลี่ยในการขนส่งมีแนวโน้มจะต่ำกว่าแบบ LCL เนื่องจากมีความประหยัดจากขนาดในการขนส่งและมีค่าใช้จ่ายจุกจิกน้อยกว่า

ข้อเสีย FCL

  • ไม่เหมาะกับปริมาณสินค้าน้อย เนื่องจากไม่คุ้มค่ากับการใส่มาในตู้คอนเทนเนอร์ทั้งตู้
  • หากไม่นำตู้ออกจากท่าภายในเวลาที่บริษัทเรือกำหนดไว้ บริษัทเรือจะเก็บค่า Demurrage ซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง
  • หากตู้สินค้าเสียหาย และไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน พอบริษัทจะเรียกเก็บค่าซ่อมตู้กับผู้นำเข้า

ข้อดีของ LCL

  • เหมาะกับการขนส่งสินค้าปริมาณน้อย
  • เสียค่าขนส่งเฉพาะสินค้าของผู้นำเข้าเอง
  • เหมาะกับผู้เริ่มนำเข้า ส่งออก หรือต้องการทดลองนำเข้า

ข้อเสียของ LCL

  • ใช้ระยะเวลามากกว่าแบบ FCL ในการปล่อยสินค้าเนื่องจากเมื่อตู้มาถึงท่าเรือ ผู้นำเข้าต้องรอให้ตู้เปิดก่อนเพื่อนำสินค้าของแต่ละเจ้าเข้าเก็บในโกดัง ผู้นำเข้าจึงสามารถทำพิธีการศุลกากร ปล่อยสินค้าได้
  • สินค้ามีโอกาสเสียหาย การมีสินค้าหลากหลายแบบและขนาด สินค้าบางชนิดจึงอาจจะทำความเสียหายกับสินค้าชนิดอื่นได้ ซึ่งเป็นไปทั้งจากการกระแทกโดนทับเป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีการย้ายสินค้าเข้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์หลายครั้งอีกด้วย

วิธีแก้ไข คือต้องใช้บรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน และเหมาะสมกับสินค้าของท่าน บรรจุภัณฑ์ของสินค้าจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง