ภาษีนำเข้าเบื้องต้น

ภาษีนำเข้าทั่วไป วิธีการคิดภาษี ชิปปิ้ง

ในบทความนี้เราแนะนำเรื่องภาษีนำเข้าเบื้องต้นสำหรับสินค้าทั่วไป

ภาษีนำเข้าคืออะไร ภาษีนำเข้ามีอะไรบ้าง มีวิธีคิดภาษีอย่างไร ภาษีในขณะที่นำเข้า เราเรียกรวมกันว่าภาษีนำเข้า แต่ในความเป็นจริง มีภาษีหลายอย่างที่รัฐเรียกเก็บเมื่อมีการนำเข้าสินค้า

โดยมีจุดประสงค์ต่างๆกันไปตามแต่ละประเภทภาษี เช่น ภาษีอากร เพื่อเป็นเงินรายได้ของประเทศ ภาษีสรรพสามิตช่วยควบคุมปริมาณการนำเข้าสินค้าบางชนิด เป็นต้น 

ภาษีนำเข้าทั่วไปที่ต้องจ่ายเมื่อนำเข้านั้นมี 4 ประเภท

  • ภาษีอากร มีเก็บทั้งขาเข้าและขาออก ซึ่งมีข้อกำหนดตามกฎหมายให้จัดเก็บในอัตราที่กำหนดไว้
  • ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าฟุ่มเฟือยบางชนิด สินค้าทั่วไปจะไม่ถูกเก็บภาษีนี้ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/147547928628570/posts/3681793401870654/
    website : www.excise.go.th
  • ภาษีเพื่อมหาดไทย ต้องจ่ายเมื่อเสียภาษีสรรพสามิต
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT ใช้อัตราการเก็บเช่นเดียวกับสินค้าภายในประเทศ 7%

ภาษีอากรขาเข้า

เป็นภาษีหลักที่กรมศุลกากรเรียกเก็บเมื่อมีการนำเข้าสินค้าเข้าในประเทศ โดยมีอัตราการจัดเก็บที่กำหนดไว้แล้ว และในแต่ละประเภทสินค้าจะมีอัตราการจัดเก็บไม่เท่ากัน

การตรวจสอบว่าสินค้าที่ท่านนำเข้าเสียภาษีในอัตราเท่าไหร่ ท่านต้องทราบพิกัดสินค้าของท่านก่อน เมื่อทราบพิกัดสินค้าแล้ว จะมีวิธีการค้นหาด้วยตัวของท่านเองดังนี้

  • ค้นหาจาก website ของกรมศุลกากร https://bit.ly/3ndl6Ly 
  • โทรศัพท์สอบถามเบื้องต้นจากสายด่วน กรมศุลกากร 1164 (ควรมีรายละเอียดสินค้าดีแล้ว)

ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ vat 

สินค้าทั่วไปเกือบทุกประเภทต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มขณะนำเข้า เช่นเดียวกับการซื้อสินค้าในประเทศและ ถือเป็นภาษีซื้อในการนำเข้า
ทำให้ท่าน สามารถนำภาษีที่จ่ายไป ไปใช้ในหักลบกับภาษีขายได้

อัตราการจัดเก็บคือ 7% ของ”ฐานภาษี”

สินค้าบางประเภทได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเช่น

  • อาหารสัตว์ ยาสัตว์
  • สินค้าที่นำเข้ามาและกลับออกไปขณะยังอยู่ในอารักขาของศุลการ
  • หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน 

วิธีการคำนวณภาษีนำเข้าเบื้องต้น

ในตัวอย่างนี้ จะแสดงตัวอย่างการคิดภาษีของสินค้านำเข้าทั่วไปที่ต้องจ่ายภาษีอากรเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม

หลัการคือต้องคิดภาษีจากราคา CIF เท่านั้น

  • C คือมูลค่าสินค้า
  • I คือค่าประกันสินค้า
  • F คือค่าระวางในการขนส่งสินค้า

หากท่านซื้อสินค้าเป็น Term อื่นๆท่านต้องนำค่าใช้จ่ายอื่นๆบวกเพิ่มจนเป็นราคา CIF จึงเริ่มคิดภาษีได้

ตัวอย่าง นำเข้าด้วยราคา CIF
นำเข้าโต๊ะจำนวน 100 ตัว ราคาตัวละ 100USD
ดังนั้น ราคารวมคือ 100×100=10,000USD

ขั้นที่ 1 เปลี่ยนเงินสกุลเงินต่างประเทศให้เป็นบาท
สมมุติ 1USD=32THB
มูลค่าสินค้า คือ 32×10,000USD=320,000THB
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
ขั้นที่ 2 คิดภาษีอากรขาเข้า

ทุกครั้งท่านต้องคิดภาษีอากรขาเข้าก่อน

อัตราภาษีอากรขาเข้าของ โต๊ะอยู่ที่ 30%
ดังนั้นค่าภาษีอากรขาเข้าคือ
320,000×30%=96,000THB
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
ขั้นที่ 3 คิดภาษีมูลค่าเพิ่ม
เมื่อได้ภาษีอากรขาเข้าแล้วจึงคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม

การคิดภาษีมูลค่าเพิ่มต้องคิดจากฐานภาษีเท่านั้น

มูลค่าสินค้า(บาท)+ค่าภาษีอากรขาเข้า=ฐานภาษี

ดังนั้นในกรณีนี้ฐานภาษีคือ
320,000+96,000=416,000THB

ฐานภาษีxอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม=ภาษีมูลค่าเพิ่ม
416,000×7%=29,120THB
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
ขั้นที่ 4 คิดภาษีที่ต้องจ่ายทั้งหมด

ภาษีที่ต้องจ่ายทั้งหมดขณะนำเข้าคือ
ภาษีอาการขาเข้า+ภาษีมูลค่าเพิ่ม
96,000+29,120=125,120THB

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่ต้องการคิดค่าภาษีในการนำเข้าเบื้อง เพื่อรวบรวมต้นทุนในการนำเข้าต่อไป